วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กำเนิดภาษาไทย


กำเนิดภาษาไทย



... " พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์  แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบาลเมือง กูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงสอง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็กเมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชน หัวซ้ายขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเคลื่อนเข้าไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกูหนีญญ่ายพ่ายจะแจ กูบ่หนี กูขี่ช้างเนกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อตั้งด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู พระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน "...

         
ข้อความข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของข้อความที่ปรากฏบนศิลาจารึก หลักที่ ๑ ด้านที่ ๑ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สลักบนแท่งหินชนวน  ศิลาจารึกนี้เองที่เป็นต้นกำเนิดของภาษาไทย ดังความตอนหนึ่งที่ปรากฏบนศิลาจารึกด้านที่ ๔ ของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ว่า   " ... เมื่อก่อนลายสือไทนี้บ่มี ๑๒๐๕ สกปีมแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจแล่ใศ่ลายสือไทนี้ลายสือไทนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใศ่ไว้ "...   นับได้ว่าเป็นศิลาจารึกหลักแรกที่ใช้ตัวอักษรไทย และภาษาไทย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการทางภาษาเรื่อยมาจนเป็นภาษาไทยในยุคปัจจุบัน



         
หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมีลักษณะเป็นแท่งหินรูปสี่เหลี่ยม ยอดกลมมน สูง ๑ เมตร ๑๑ เซนติเมตร กว้าง ๓๕ เซนติเมตร หนา ๓๕ เซนติเมตร เป็นหินชนวนสีเขียว มีจารึกทั้งสี่ด้าน ด้านที่ ๑ มี ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๓ มี ๒๗ บรรทัด และด้านที่ ๔ มี ๒๗ บรรทัด  ปัจจุบันแท่งศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงดังกล่าว   เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสุโขทัย ได้ทรงประกอบราชกรณียกิจที่สำคัญไว้มากมาย สมควรกล่าวถึงดังนี้คือ๑.  ทรงมีความเข้มแข็งในการรบ เมื่อมีพระชันษาเพียง ๑๙ ปี ได้ช่วยพระราชบิดาสู้รบศัตรูอย่างกล้าหาญได้ทรงชนช้างกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ที่ยกกองทัพมารุกรานกรุงสุโขทัยจนได้ชัยชนะ พระราชบิดาจึงพระราชทานนามว่า " พระรามคำแหง" เมื่อเป็นกษัตริย์แล้ว พระองค์ได้ทรงรบขยายอาณาจักรออกไปกว้างขวางมาก เป็นที่ยำเกรงแก่ประเทศเพื่อนบ้านทั้งปวง
           
๒.  ทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศใกล้เคียง เช่น ทรงเป็นเพื่อนสนิทกับพระยาเม็งราย (จ้าเมืองเชียงใหม่) และพระยางำเมือง (เจ้าเมืองพะเยา) แห่งอาณาจักรล้านนา ไกลออกไปทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศจีน ซึ่งขณะนั้นมีกุบไลข่าน(พระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้)เป็นกษัตริย์ ได้มีการติดต่อค้าขายระหว่างทั้งสองประเทศ ทั้งยังได้ทรงนำช่างทำถ้วยชามชาวจีนมาสอนคนไทย ซึ่งเราเรียกว่า " สังคโลก"
       
๓.  ทรงปกครองพลเมืองให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข ได้โปรดให้แขวนกระดิ่งไว้ที่ประตูพระราชวัง ผู้ใดมีทุกข์ร้อนก็มาสั่นกระดิ่งถวายฏีกาได้ ในวันโกนวันพระทรงได้นิมนต์พระภิกษุมาแสดงพระธรรมเทศนาบนแท่นมนังคศิลาบาตรกลางดงตาล ในวันธรรมดาพระองค์ก็เสด็จออกว่าราชการ  และให้ราษฎรเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด และทรงอบรมศีลธรรมจรรยาแกราษฎร
        
๔.  ในปีพุทธศักราช ๑๘๒๖  ได้ทรงคิดแบบตัวอักษรไทยขึ้นแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นเค้าของตัวหนังสือไทยในปัจจุบัน และได้ทรงจารึกเหตุการณ์ในสมัยนั้นลงไว้ในหลักศิลาจารึก  นับได้ว่ามีคุณค่ามากในการศึกษาประวัติศาสตร์ คนในสมัยหลังได้ทราบเรื่องราวต่างๆ ในสมัยกรุงสุโขทัยจากจารึกนี้เป็นอย่างมาก

จารึกที่คนไทยทำขึ้น ปรากฎหลักฐานในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อคนไทยก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมาในแถบลุ่มแม่น้ำยม พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งอาณาจักรสุโขทัย ได้ประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้น ในปีพุทธศักราช ๑๘๒๖  ได้ทรงคิดแบบตัวอักษรไทยขึ้นแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นเค้าของตัวหนังสือไทยในปัจจุบัน และได้ทรงจารึกเหตุการณ์ในสมัยนั้นลงไว้ในหลักศิลาจารึก  นับได้ว่ามีคุณค่ามากในการศึกษาประวัติศาสตร์ คนในสมัยหลังได้ทราบเรื่องราวต่างๆ ในสมัยกรุงสุโขทัยจากจารึกนี้เป็นอย่างมาก เป็นจารึกที่เก่าที่สุด และไม่มีลักษณะของรูปอักษรไทยที่แห่งไหนจะเก่าเท่า ถึงแม้จะพบจารึกอักษรไทยที่คนไทยทำขึ้น จำนวนมากในทุกภาคของประเทศไทย แต่หลักฐานการค้นพบปรากฎว่า จารึกเหล่านั้นมีอายุอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลงมา ทั้งสิ้น  รูปอักษรไทยในอาณาจักรสุโขทัยนั้น  ได้เป็นแม่แบบของรูปอักษรไทยในสมัยต่อมา



มนุษย์ในทุกสังคมมีภาษาพูดเป็นของตัวเองทั้งสิ้น นักภาษาประมาณว่าในโลกเรามีภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ทั้งหมดราวๆ ๓๐,๐๐๐  ภาษา แต่ไม่ถึง ๑๐๐ ภาษาที่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง และภาษาไทยก็เป็นภาษาหนึ่งในไม่ถึง ๑๐๐ ภาษานี้ด้วย
                      
พ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์องค์ที่ ๓ ของอาณาจักรสุโขทัย เป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๖ หลังจากที่คนไทยรวมตัวกันเป็นบ้านเมือง และมีพระเจ้าแผ่นดินของตนเองแล้ว  ในสมัยนั้นชาวเขมร ชาวพม่า และชาวมอญที่อยู่ใกล้เคียงกับคนไทย มีการปกครองตนเอง และมีอักษรเป็นภาษาของตนเองใช้แล้ว และเพื่อนบ้านเหล่านี้มีจารึกเกี่ยวกับบ้านเมืองของตนเอง เขียนด้วยภาษาของตนเองทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อคนไทยมีบ้านเมือง และมีการปกครองเป็นของตนเอง ก็จำเป็นที่จะต้องมีภาษาเขียนของตนเองด้วย เพื่อให้มีฐานะเท่าเทียมเพื่อนบ้าน พ่อขุนรามคำแหงจึงได้คิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น เพื่อให้ชาวไทยใช้เขียนบันทึกเรื่องราวต่างๆ
                        

พยัญชนะไทย ในสมัยสุโขทัย
ในการจารึกอักษรไทยครั้งแรกนั้น ได้ใช้พยัญชนะไม่ครบทั้ง ๔๔ ตัว คือมีเพืยง ๓๙ ตัว โดยขาด ตัว ฌ ฑ ฒ  ฬ และตัว ฮ  ไม่ครบชุดพยัญชนะเหมือนที่ใช้สอนวิชาภาษาไทยในปัจจุบัน  ในบรรดาตัวอักษร ๔๔  ตัว ที่มีมาแต่สมัยโบราณ มีอยู่ ๒ ตัว ที่เราเลิกใช้ไปแล้ว คือ ฃ (ขอขวด)  และ ฅ (คอคน) ที่เราเลิกใช้ก็เพราะเสียง ๒ เสียงนี้เปลี่ยนไปแล้วกลายเป็นเสียงเดียวกันกับ  ข  (ขอไข่)  ค (คอควาย)
                        
สระ
การเขียนสระในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ต่างจากการเขียนสระในปัจจุบันมาก ทั้งรูปร่างสระ และวิธีการเขียน กล่าวคือ เขียนสระอยู่ในบรรทัดเช่นเดียวกับพยัญชนะ
                       
วรรณยุกต์
รูปวรรณยุกต์ที่ใช้เขียนกำกับในยุคสุโขทัย มีเพียง ๒ รูป คือไม้เอก  และไม้โท แต่ไม้โทใช้เป็นเครื่องหมายกากบาทแทน 

การค้นพบศิลาจารึกหลักที่ ๑ (ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง)ศิลาจารึกนี้มีประวัติแห่งการค้นพบ คือ เมื่อ พ.ศ.  ๒๓๗๖  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะที่ยังทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย ทรงเห็นราษฎรเซ่นสรวงบูชาหลักศิลาจารึก ๒ หลัก กับแท่นหินอีก ๑ แท่น โดยที่เขาเชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์  จึงทรงตรวจดูด้วยวิจารณญาณของนักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ ก็ทรงทราบว่า ของเหล่านั้นมีความสำคัญเกี่ยวกับชาติไทยในอดีต มิควรจะปล่อยไว้ให้สูญเสีย จึงทรงนำเข้ามาในพระนคร ในที่สุดหลังจากทรงวิจัยอย่างรอบคอบแล้วก็ได้ความจริงว่า ศิลาจารึกหลักหนึ่งเป็นของพ่อขุนรามคำแหง  อีกหลักหนึ่งเป็นของพระมหาธรรมราชาลิไท และแท่นหินนั้นก็ คือ พระแท่นมนังคศิลา ของพ่อขุนรามคำแหง

ภาษาไทย

ภาษาไทย เป็นภาษาทางการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย

ชื่อภาษาและที่มา
คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แม้คำนี้จะมีรูปเหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่แท้ที่จริงแล้ว คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำที่เรียกว่า 'การลากคำเข้าวัด' ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง

 ระบบเสียง

ระบบเสียงในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
  1. เสียงพยัญชนะ
  2. เสียงสระ
  3. เสียงวรรณยุกต์

 พยัญชนะ

 พยัญชนะต้น

ภาษาไทยแบ่งแยกรูปแบบเสียงพยัญชนะก้องและพ่นลม ในส่วนของเสียงกักและเสียงผสมเสียดแทรก เป็นสามประเภทดังนี้
  • เสียงไม่ก้อง ไม่พ่นลม
  • เสียงไม่ก้อง พ่นลม
  • เสียงก้อง ไม่พ่นลม
หากเทียบกับภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปมีเสียงแบบที่สองกับสามเท่านั้น เสียงแบบที่หนึ่งพบได้เฉพาะเมื่ออยู่หลัง s ซึ่งเป็นเสียงแปรของเสียงที่สอง
เสียงพยัญชนะต้นโดยรวมแบ่งเป็น 21 เสียง ตารางด้านล่างนี้บรรทัดบนคือสัทอักษรสากล บรรทัดล่างคืออักษรไทยในตำแหน่งพยัญชนะต้น (อักษรหลายตัวที่ปรากฏในช่องให้เสียงเดียวกัน)

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พยัญชนะไทย

พยัญชนะไทย
พยัญชนะไทยมีทั้งหมด 44 รูป

พยัญชนะมี 21 เสียง
  1. ข ฃ ค ต ฆ
  2. ฉ ช ฌ
  3. ซ ศ ษ ส
  4. ญ ย
  5. ฎ ด กับเสียง
  6. ฑ บางคำ
  7. ฏ ต
  8. ฐ ถ ฑ ฒ ท ธ
  9. น ณ
  10. ผ พ ภ
  11. ฝ ฟ
  12. ล ฬ
  13. ห ฮ
  14. เสียง อ ไม่นับ
เสียงพยัญชนะ
พยัญชนะเสียงสูง  : ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
พยัญชนะเสียงกลาง  : ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
พยัญชนะเสียงต่ำ  : ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

 ไตรยางศ์

        คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรยฺ ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน การจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์
ไตรยางศ์มีการจัดหมวดหมู่เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

พยัญชนะเสียงสูง

        มี 11 ตัว เเละผันได้ เสียงที่ ๕, ๒ เเละ ๓
อักษรสูง หมายถึง พยัญชนะที่ยังไม่ได้ผันวรรณยุกต์ แล้วมีเสียงอยู่ในระดับสูง มีทั้งหมด 11 ตัว วิธีท่องจำง่าย ๆ ผ ฝ ถ ฐ ข ฃ ศ ษ ส ห ฉ ผี ฝาก ถุง ขาว สาร ให้ ฉัน

 พยัญชนะเสียงกลาง

        มี 24 ตัว เเละผันได้ทั้งหมดห้าเสียง
อักษรกลาง หมายถึง พยัญชนะที่ยังไม่ได้ผันวรรณยุกต์ แล้วมีเสียงอยู่ในระดับกลาง มีทั้งหมด 9 ตัว วิธีท่องจำง่าย ๆ ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ ไก่ จิก เด็ก ตาย เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง การผันวรรณยุกต์กับอักษรกลาง ผันได้ครบ 5 เสียง ใช้วรรณยุกต์ได้ 4 รูป

พยัญชนะเสียงต่ำ

        มี 9 ตัว เเละผันได้ เสียงที่ ๑, ๓ เเละ ๔ อักษรต่ำ หมายถึง พยัญชนะที่ยังไม่ได้ผันวรรณยุกต์ แล้วมีเสียงอยู่ในระดับต่ำ มีทั้งหมด 24 ตัว
  • ต่ำคู่ มีเสียงคู่อักษรสูง 14 ตัว
พ ภ ฟ ฑ ฒ ท ธ ค ต ฆ ซ ฮ ช ฌ
  • ต่ำเดี่ยว(ไร้คู่) 10 ตัว วิธีท่องจำง่าย ๆ
ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล งู ใหญ่ นอน อยู่ ณ ริม วัด โม ฬี โลก

 หน้าที่ของพยัญชนะ

ทำหน้าที่ เป็นพยัญชนะต้นกา

        เป็น สัตว์ ใกล้สูญพันธ์ ก ป ส กล ส พ เป็นพยัญชนะต้น

 ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์'(ตัวสะกด)

เกิด เป็น ชาย หมาย รัก นี้ หนัก อก
        พยัญชนะที่ขีดเส้นใต้เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์หรือท้ายคำ เรียกว่าตัวสะกด
พยัญชนะตัวสะกด
        พยัญชนะตัวสะกด มีทั้งสิ้น 39 ตัวเท่านั้น ที่สามารถใช้เป็นตัวสะกดได้ โดยแบ่งเป็น ๘ เสียงเรียกว่ามาตราตัวสะกด ๘ มาตราดังนี้
  • แม่กก ออกเสียงสะกด ก ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ก ข ค ฆ เป็นตัวสะกด
เช่น นก เลข โรค เมฆ
  • แม่กด ออกเสียงสะกด ด ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ด ต ถ ท ธ ฎ ฏ ฐ ฒ จ ช ซ ศ ษ ส เป็นตัวสะกด เช่น
เปิด จิต รถ บาท โกรธ กฎ ปรากฏ เท็จ บงกช ก๊าซ อากาศ พิเศษ โอกาส อิฐ
  • แม่กบ ออกเสียงสะกด บ ซึ่งจะใช้พยัญชนะ บ ป พ ภ ฟ เป็นตัวสะกด เช่น ดาบ บาป ภาพ กราฟ โลภ
  • แม่กน ออกเสียงสะกด น ซึ่งจะใช้พยัญชนะ น ร ญ ล ฬ เป็นตัวสะกด
เช่น แขน คูณ บุญ อาหาร กล ปลาวาฬ
  • แม่กง ออกเสียงสะกด ง ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ง เป็นตัวสะกด
เช่น จริง วิ่ง ลิง สิงห์ พิง มุ่ง สั่ง
  • แม่กม ออกเสียงสะกด ม ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ม เป็นตัวสะกด
เช่น นม ดม ลม พรม สม ชิม แยม
  • แม่เกย ออกเสียงสะกด ย ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ย เป็นตัวสะกด
เช่น ยาย เนย เคย เลย คุย
  • แม่เกอว ออกเสียงสะกด ว ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ว เป็นตัวสะกด
เช่น สิว หิว วัว

 ทำหน้าที่เป็นอักษรควบ

พยัญชนะควบกล้ำ
        นอกจากเสียงนั้นยังมีพยัญชนะควบกล้ำ พยัญชนะกล้ำคือพยัญชนะ 2 ตัวประสมสระเดียวกันมี ร ล ว แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
  • ควบกล้ำแท้ เป็นพยัญชนะควบกล้ำที่ออกเสียงพร้อมกันทั้ง 2 ตัว เช่น
ควบด้วย ร กรอบ กราบ เกรง ครอบครัว ควบด้วย ล กล้วย กลีบ ไกล แปลง ควบด้วย ว ไกว แกว่ง ควาย ขว้าง
  • ควบกล้ำไม่แท้ เป็นพยัญชนะที่เขียนเหมือนควบกล้ำแท้ ร แต่ออกเสียงเพียงตัวเดียว เช่น
จริง สร้าง สระ เศร้า แสร้ง ศรี อ่านว่า (จิง) (ส้าง) (สะ) (เส้า) (แส้ง) (สี) ตัวอย่างคำอักษรควบแท้และไม่แท้
กราดเกรี้ยวเกลียวคลื่นคล้าย
ปลุกปลอบควายคลายโกรธเกรี้ยว
ตรวจตรากล้าจริงเพรียว
ขวักไขว่คว่ำกล้ำกลบคลอง
ทรายเศร้าเคล้าคลึงศรี
ทราบโทรมตรีปลีกล้วยพร่อง
ครึ้มครึกตริตรึกตรอง
เปล่าพลิกกลองแปรเปลี่ยนแปลง

ทำหน้าที่เป็นอักษรนำ-อักษรตาม

อักษรนำ คือ พยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน ประสมสระเดียว พยัญชนะตัวแรกของคำ แบ่งตามลักษณะการอ่านได้ 2 ชนิด คือ
  • อ่านออกเสียงร่วมกันสนิทเป็นพยางค์เดียวกัน เมื่อมีตัว ห และ ตัว อ เป็นอักษรนำ ตัวอย่างเช่น
เมื่อมีตัว ห เป็นอักษรนำ เช่น หรู หรา หญิง เหลือ หลาย เหลว ไหล หรู หรา –หรูหรา - ห อักษรสูง นำ ร อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห หญิง หญ้า ใหญ่ -หยิง- ห อักษรสูง นำ ญ อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห
  • เมื่อมีตัว อ เป็นอักษรนำ ย มี 4 คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก
อย่า อยู่ อย่าง อยาก -หย่า หยู่ หย่าง หยาก-อ อักษรกลาง นำ ย อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม อ
  • อ่านออกเสียงเป็น 2 พยางค์ โดยพยางค์แรกอ่านออกเสียงเหมือนมีสระ อะ ประสมอยู่กึ่งเสียง ส่วนพยางค์หลังอ่านตามสระที่ประสมอยู่ และอ่านออกเสียงวรรณยุกต์ตามพยัญชนะตัวแรก เช่น
ขยับ ขะ-หยับ ข อักษรสูง นำ ย อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห
ฉลาม ฉะ-หลาม ฉ อักษรสูง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห
ตลาด ตะ-หลาด ต อักษรกลาง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ต
สนาม สะ-หนาม ส อักษรสูง นำ น อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ส
ผลิต ผะ-หลิต ผ อักษรสูง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ผ
ตัวอย่างคำอักษรนำ-อักษรตาม
ขยะขยาดตลาดเสนอ.........ฉลาดเสมอเฉลิมไฉน
สนิมสนองฉลองไสว..........เถลไถลหวาดหวั่นแสวง
อย่าอยู่อย่างอยากเผยอ..........ตลิ่งตลบเสนอถลอกแถลง
จมูกถนัดขยะแขยง...............สวะสวิงหน่ายแหนงขยับขยาย
หรูหราหรุบหรับ(สา)หร่าย... สลับสลายเสนาะสนุกสนาน
สลิดเสลดสลัดสมาน .. หหวังหลอกเหลนหลานหลากหลาย

 ทำหน้าที่เป็นเป็นสระ (อ ว ย ร)

เช่น สรรค์ รร ทำหน้าที่แทนวิสรรชนีย์ หรือสระอะ กวน ว เป็นสระอัวลดรูป เสีย ย เป็นส่วนประกอบของสระเอีย ขอ เสือ มือ อ เป็นสระ และเป็นส่วนหนึ่งของสระ

 ทำหน้าที่เป็นตัวการันต์

เช่น จันทร์ ทร์ เป็นตัวการันต์ ลักษณ์ ษณ์ เป็นตัวการันต์ ศิลป์ ป์ เป็นตัวการันต์

 พยัญชนะไทยที่พึงสังเกตและควรจดจำ

อักษร ฃ นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของพยัญชนะ ฃ และสันนิษฐานว่า ฃ นั้นเดิมมีฐานเสียงที่แตกต่างจากฐานเสียงของ ข โดยมีลักษณะเสียงเป็น พยัญชนะลิ้นไก่อโฆษะ ซึ่งพบได้ในภาษาต่างๆ ในกลุ่มภาษาไท และภาษาอื่น ทว่าในภายหลังหน่วยเสียงนี้ค่อยๆ สูญหายไป โดยออกเสียง ข แทนเป็นที่น่าสังเกตว่า ฃ มีใช้ในตำแหน่งที่เป็นพยัญชนะต้น ไม่ปรากฏในตำแหน่งตัวสะกดเลย นอกจากนี้ยังมีข้อที่น่าสังเกตว่าคำว่า "ขวด" ซึ่งเป็นชื่อของพยัญชนะตัวนี้ ก็ไม่เคยเขียนด้วย ฃ (นั่นคือ ฃวด) มาก่อนเลย สาเหตุที่ทำให้เลิกใช้ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) นั้น คงเนื่องมาจากพิมพ์ดีดภาษาไทยในสมัยแรก ๆ นั่นเองที่แป้นอักษรไม่มี ฃ และ ฅ เนื่องจากก้านอักษรมีไม่พอกับจำนวนสระพยัญชนะและวรรณยุกต์ในภาษาไทย จึงต้องตัดคำบางคำหรือเครื่องหมายตัวออกไปบ้าง
อักษร ฅ เป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว ไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ฅ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่ยังมีการใช้ ฅ อยู่บ้างในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว เท่าที่พบเห็น มักจะใช้ในคำว่า ฅน (คน)
อักษร ฑ ในคำไทย บางคำอ่านออกเสียงเป็น /ท/ อย่างคำว่า มณโฑ (มน-โท) บุณฑริก (บุน-ทะ-ริก) แต่บางครั้งออกเสียงเป็น /ด/ เช่น มณฑป (มน-ดบ) บัณฑิต (บัน-ดิด)
อักษร ณ เพียงตัวเดียวสามารถเป็นคำได้หนึ่งคำ ณ อ่านว่า นะ แปลว่า "ที่" เป็นคำบุพบท
อักษร บ เพียงตัวเดียวแล้วเติมไม้เอก โดยไม่มีสระ สามารถเป็นคำได้หนึ่งคำ คือ บ่ อ่านว่า บ่อ หรือ เบาะ แปลว่า "ไม่" เป็นคำพิเศษที่แสดงถึงความเป็นตรงกันข้าม
อักษร ร ที่เป็นพยัญชนะสะกดซึ่งตามหลังสระ ออ จะไม่ปรากฏตัวออ ให้ใช้ ร ต่อท้ายพยัญชนะต้นไปได้เลย เช่น กร (กอน) พร (พอน) ละคร (ละ-คอน) เป็นต้น คำไทยบางคำที่ยืมมาจากภาษาเขมรและภาษาสันสกฤต จะมี ร ซ้อนกันสองตัวเรียกว่า ร หัน (รร) เมื่อตามหลังพยัญชนะต้นจะออกเสียงคล้ายมีสระ อะ และสะกดด้วยแม่กนหรือพยัญชนะตัวถัดไป เช่น บรรพชา (บัน-พะ-ชา) สรรพ (สับ) ธรรมะ (ทัม-มะ) เป็นต้น
อักษร ว รูปสระ ตัววอ (ว) ยังสามารถใช้เป็น สระ อัว เมื่อมีพยัญชนะสะกด เช่น สวน และใช้ประสมสระ อัวะ และ อัว
อักษร ห จะไม่ถูกใช้เป็นพยัญชนะสะกด ถึงแม้เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี ห ก็จะไม่ออกเสียง แต่จะออกเสียงเป็นพยัญชนะตัวถัดไปแทน เช่น พราหมณ์ (พราม) พรัหมา (พรัม-มา) เป็นต้น ห สามารถใช้เป็นอักษรนำสำหรับพยัญชนะเหล่านี้ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ เพื่อให้สามารถผันวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง
อักษร ฬ ปัจจุบัน ฬ ไม่มีที่ใช้เป็นพยัญชนะต้นของคำ
อักษร อ รูปสระ ตัวออ (อ) ยังสามารถใช้เป็นสระ ออ เมื่ออยู่หลังพยัญชนะต้น ใช้ถัดจากสระ อื เมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด เช่น ถือ และใช้ประสมสระ เอือะ เอือ เออะ และ เออ โดยทั่วไปเรามักจัดให้ อ เป็นเสียงนำสระ แต่ในทางภาษาศาสตร์ ถือว่า อ นั้น เป็นพยัญชนะปิดหรือหยุด
อักษร ฮ จะไม่ถูกใช้เป็นพยัญชนะสะกด

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ภาษาไทย/ไวยากรณ์/ภาษาไทยเบื้องต้น/สระ


ภาษาไทย/ไวยากรณ์/ภาษาไทยเบื้องต้น/สระ

จาก Wikibooks

สระไทย

สระ หมายถึง เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา ตามหลักภาษา ถือว่าพยัญชนะจำเป็นต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้

รูปสระ

รูปสระในภาษาไทยมี ๒๑ รูปดังนี้
  1. ะ เรียกว่า วิสรรชนีย์
  2. ั เรียกว่า ไม้หันอากาศ หรือ ไม้ผัด
  3. ็ เรียกว่า ไม้ไต่คู้
  4. า เรียกว่า ลากข้าง
  5. ิ เรียกว่า พินทุ หรือ พิทุอิ
  6. ่ เรียกว่า ฝนทอง
  7. ่ ่ เรียกว่า ฟันหนู
  8. ํ เรียกว่า นฤคหิต หรือ หยาดน้ำค้าง
  9. ุ เรียกว่า ตีนเหยียด
  10. ู เรียกว่า ตีนคู้
  11. เ เรียกว่า ไม้หน้า
  12. ใ เรียกว่า ไม้ม้วน
  13. ไ เรียกว่า ไม้มลาย
  14. โ เรียกว่า ไม้โอ
  15. อ เรียกว่า ตัวออ
  16. ย เรียกว่า ตัวยอ
  17. ว เรียกว่า ตัววอ
  18. ฤ เรียกว่า ตัว ฤ (รึ)
  19. ฤๅ เรียกว่า ตัว ฤๅ (รือ)
  20. ฦ เรียกว่า ตัว ฦ (ลึ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
  21. ฦๅ เรียกว่า ตัว ฦๅ (ลือ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

เสียงสระ

เสียงสระในภาษาไทยมี ๓๒ เสียง ดังนี้
อะอาอิอีอึอือุอู
เอะเอเเอะเเอเอียะเอียเอือะเอือ
อัวะอัวโอะโอเอาะออเออะเออ
อำใอไอเอาฤๅฦๅ

เมื่อเวลาออกเสียงสระ เช่น อะ อา เอะ เอ เอียะ เอีย จะออกเสียงแตกต่างกัน บางตัวออกเสียงสั้น บางตัวออกเสียงยาว บางตัวเหมือนมีสระสองเสียงกล้ำกัน ดังนั้น จึงจัดแบ่งเสียงสระเป็นพวกใหญ่ ๆ ได้ 5 พวกด้วยกัน คือ
  • สระเสียงสั้น ได้แก่ สระที่ออกเสียงสั้น คือ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ไอ ใอ เอา
  • สระเสียงยาว ได้แก่ สระที่ออกเสียงยาว คือ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ
  • สระเดี่ยว ได้แก่ สระที่เปล่งเสียงออกมาเป็นเสียงเดียว ไม่มีเสียงอื่นประสมมี 18 ตัวได้แก่ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ โอะ โอ เอาะ ออ
  • สระประสม คือ สระที่มีเสียงสระเดี่ยว 2 ตัวประสมกัน มี 6 ตัวได้แก่
  1. เอียะ เสียง อิ กับ อะ ประสมกัน
  2. เอีย เสียง อี กับ อา ประสมกัน
  3. เอือะ เสียง อึ กับ อะ ประสมกัน
  4. เอือ เสียง อื กับ อา ประสมกัน
  5. อัวะ เสียง อุ กับ อะ ประสมกัน
  6. อัว เสียง อู กับ อา ประสมกัน
  • สระเกิน คือ สระที่มีเสียงซ้ำกับสระเดี่ยว ต่างกันก็แต่ว่าสระเกินจะมีเสียงพยัญชนะประสมหรือสะกดอยู่ด้วย มี 8 ตัว ได้แก่
  1. ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ (รึ รือ ลึ ลือ) มีเสียงพยัญชนะ ร ล ประสมอยู่
  2. อำ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ม สะกด
  3. ใอ ไอ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ย สะกด (คือ อัย)
  4. เอา มีเสียง อะ และพยัญชนะ ว สะกด

บางตำราถือว่าภาษาไทยมี 21 เสียง ทั้งนี้ คือไม่รวมสระเกินซึ่งถือว่าเป็นหน่วยเสียงในตัวเองโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว และไม่รวมสระประสมเสียงสั้น คือ เอียะ เอือะ อัวะ เนื่องจากมีที่ใช้ในภาษาไทยน้อยมาก และส่วนใหญ่จะเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติซึ่งไม่ได้ใช้สื่อความหมายอื่น

การใช้สระ

  1. สระอะ (-ะ) เขียนไว้หลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอะ เช่น กะ จะ ปะ
  2. สระอา (-า) เขียนไว้หลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอา เช่น มา กา ตา
  3. สระอิ (-ิ) เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอิ เช่น บิ สิ มิ
  4. สระอี (-ี) เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอี เช่น ปี ดี มี
  5. สระอึ (-ึ) เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอึ เช่น หึ สึ
  6. สระอื (-ื) เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอื แต่การใช้สระอื ต้องมี อ มาประกอบด้วย เช่น มือ ถือ ลือ
  7. สระอุ (-ุ) เขียนไว้ใต้พยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอุ เช่น ผุ มุ ยุ
  8. สระอู (-ู) เขียนไว้ใต้พยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอู เช่น ดู รู งู
  9. สระเอะ (เ-ะ) เขียนไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอะ เช่น เละ เตะ เกะ
  10. สระเอ (เ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอ เช่น เก เซ เข
  11. สระแอะ (แ-ะ) เขียนไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระแอะ เช่น และ แพะ แกะ
  12. สระแอ (แ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระแอ เช่น แล แพ แก
  13. สระเอียะ (เ-ียะ) เขียนไว้ทั้งหน้า บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอียะ เช่น เผียะ เพียะ เกียะ
  14. สระเอีย (เ-ีย) เขียนไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอีย เช่น เสีย เลีย เปีย
  15. สระเอือะ (เ-ือะ) เขียนไว้ทั้งหน้า บน และหลังพยัญชนะ
  16. สระเอือ (เ-ือ) เขียนไว้ทั้งหน้า บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอือ เช่น เสือ เรือ เจือ
  17. สระอัวะ (-ัวะ) เขียนไว้บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอัวะ เช่น ผัวะ ยัวะ
  18. สระอัว (-ัว) เขียนไว้บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอัว เช่น ตัว รัว หัว
  19. สระโอะ (โ-ะ) เขียนไว้หน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระโอะ เช่น โปะ โละ แต่ถ้ามีตัวสะกด จะตัดสระโอะออกเหลือแต่พยัญชนะต้นกับตัวสะกด เรียกว่า สระโอะลดรูป เช่น คน รก จง
  20. สระโอ (โ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระโอ เช่น โต โพ โท
  21. สระเอาะ (เ-าะ) เขียนไว้ทั้งหน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอาะ เช่น เลอะ เถอะ เจอะ
  22. สระออ (-อ) เขียนไว้หลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระออ เช่น ขอ รอ พอ
  23. สระเออะ (เ-อะ) เขียนไว้ทั้งหน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเออะ เช่น เลอะ เถอะ เจอะ
  24. สระเออ (เ-อ) เขียนไว้ทั้งหน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเออ เช่น เจอ เธอ เรอ ถ้ามี ย สะกด จะตัด อ ออกแล้วตามด้วย ย เลย เช่น เขย เกย เฉย เรียกว่า สระเออลดรูป ถ้ามีตัวสะกดอื่น ๆ ที่ไม่ใช้ ย จะเปลี่ยน อ เป็นสระอิ เช่น เกิด เลิก เงิน เรียกว่า สระเออเปลี่ยนรูป
  25. สระอำ (-ำ) เขียนไว้บนและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอำ เช่น รำ ทำ จำ
  26. สระใอ (ใ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระใอ มีทั้งหมด 20 คำ ได้แก่ ใกล้ ใคร ใคร่ ใจ ใช่ ใช้ ใด ใต้ ใน ใบ้ ใฝ่ ใย สะใภ้ ใส ใส่ ให้ ใหม่ ใหล ใหญ่ หลงใหล ใหญ่
  27. สระไอ (ไ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระไอ เช่น ไป ไซ ไส ใช้กับคำที่มาจากภาษาอังกฤษ เช่น ไกด์ ไมล์ สไลด์ ใช้กับคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตที่แผลงสระอิเป็นสระไอ เช่น ตรี - ไตร ใช้กับคำที่มาจากภาษาเขมร เช่น สไบ
  28. สระเอา (เ-า) เขียนไว้หน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอา เช่น เกา เผา เรา